หลายคนคงคุ้นหูกัน แล้วรู้ว่า พรบรถยนต์ คือสิ่งที่กฎหมายบังคับ ให้คนที่มีรถทุกคนจะต้องทำพ.ร.บ. และติดไว้ที่รถตลอด ถ้าไม่ทำจะถือว่าผิดกฎหมายการจราจร ถูกจับปรับแน่นอน
ถึงแม้ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่เรารู้ดีว่าต้องทำ ถ้าไม่ทำจะมีความผิด แต่ทุกคนอาจสงสัยว่าจะทำพ.ร.บ.ไปทำไม เพราะเมื่อเกิดเหตุก็ต้องรอประกันอยู่ดี ถ้าคุณคิดอย่างนี้แสดงว่าคุณกำลังเข้าใจความสำคัญของ พรบ.รถยนต์ ผิดไป
แท้จริงแล้ว พ.ร.บ.รถยนต์ มีประโยชน์มาก เมื่อเกิดอุบัติเหตุเราสามารถนำพ.ร.บ.รถยนต์ของเรา ยื่นเป็นค่ารักษาพยาบาลได้เลย ไม่ต้องรอให้ทางประกันมาถึงก็ได้ ถึงแม้ไม่มีประกัน พ.ร.บก็คุ้มครองอยู่ดี
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร ทำงานตอนไหน
พ.ร.บ. หมายถึง การทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กฎหมายบังคับให้คนมีรถทุกคนทุกคันต้องทำ ถ้าไม่ทำมีความผิด
พ.ร.บ.ก็คือแผ่นสี่เลี่ยมที่ติดหน้ารถ ซึ่งต้องติดรถตลอด แต่ใบจริงจะเป็นกระดาษA4 มีแถบสีเงิน (แถบโฮโลแกรม) มีข้อความ “สมาคมประกันวินาศภัย” และตราสัญลักษณ์ของสมาคม ระบุในแถบสีเงิน
พ.ร.บ.จะทำงานทันทีเมื่อ เกิดอุบัติเหตุทางรถ และมีผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง
พรบรถยนต์ จะคุ้มครองผู้ที่ประสบภัยทางรถยนต์ คุ้มครองความเสียหายต่อร่างกาย และชีวิตของผู้ประสบภัยทางถนนทุกคน (ผู้ขับขี่ ,ผู้โดยสาร, คนเดินเท้า )
กรณีเช่น เราขับรถไปเฉี่ยวชนคนอื่นที่เดินอยู่บนทางเท้า ได้รับบาดเจ็บ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องหนี ไม่มีเงินก็ไม่ต้องห่วง เพราะพ.ร.บรถยนต์จะจ่ายให้แน่นนอน แต่ถ้าเกิดเราชนแล้วหนี จะมีความผิดร้ายแรง เป็นคดีอาญาได้เลย
เมาแล้วขับ พ.ร.บ.จ่ายไหม
จ่ายให้แน่นอน แม้จะมีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ กฎหมายใหม่ (บริษัทประกันไม่จ่าย) ไม่มีใบขับขี่ ไม่คาดเข็มขัด ไม่ใส่หมวก พรบ.รถยนต์ ก็จ่ายให้หมด แต่จะคุ้มครองแค่ตัวบุคคลเท่านั้นนะ ไม่รับผิดชอบตัวรถของผู้ประสบภัย
วงเงินความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์
ก่อนตรวจสอบว่าใครเป็นฝ่ายผิดฝ่ายถูก พรบ.จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาทก่อน(จ่ายตามจริง)
หากมีคนคนใดหนึ่งทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิตจะจ่าย ไม่เกิน 35,000 บาทก่อน
หากเป็นฝ่ายถูก ค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 80,000 บาท (เพิ่มมา50,000 บาท จ่ายตามจริง) หากทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิตจะจ่ายเพิ่มเป็น 300,000 (เพิ่มมา265,000 บาท)
กรณีสูญเสียอวัยวะ หาก นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป = 200,0000 สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน = 250,000 สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป = 300,000
หากนอนโรงพยาบาล มีค่าชดเชยรายวันสูงสุด วันละ 200 บาท 20 วัน
ตัวอย่างเช่น หากเราถูกรถชน ได้รับบาดเจ็บ ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยเราเป็นฝ่ายถูก ค่ารักษาพยาบาล 40,000 บาท นอนโรงพยาบาล 10วัน พ.ร.บ.จ่ายค่ารักษาให้ 40,000บาท จ่ายค่าชดเชยรายวันให้ 2,000 บาท
จะเห็นได้ว่า พรบรถยนต์ มีประโยชน์กว่าที่เราคิด และมีความสำคัญมาก เมื่อเกิดเหตุบนท้องถนน ยิ่งถ้าทำประกันด้วยก็จะยิ่งเพิ่มความคุ้มครองกับตัวรถยนต์เราด้วยนะ